ในปัจจุบัน การทำ SEO โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจออนไลน์ นั้น เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และ การเพิ่มจำนวนคนเข้ามาถึงเว็บไซด์ของเรา จากการค้นหา ใน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง และนี่คือ 10 ปัจจัยสำคัญ ที่จำเป็นต่อการเพิ่มอันดับ SEO ให้กับเว็บไซต์
1. Content (เนื้อหาบนเว็บ) - ในบรรดาปัจจัยทั้งหมด เนื้อหา หรือ Content ก็ยังคงมีความสำคัญมากที่สุด ต่อการจัดอันดับ ของ Google โดย Google จะดูถึงความเกี่ยวข้องของเนื้อหา มากกว่า การใส่ใจ เรื่อง keyword ว่าจะมีแทรกอยู่ในบทความหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ถ้า content ที่เขียนนั้น มีเนื้อหาที่ยาว, ละเอียด และสามารถบอกเล่าข้อมูลต่างๆได้ดี ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดอันดับต้นๆ
2. Mobile Friendly User (ความคล่องตัวในการเข้าเว็บผ่านมือถือ) - ทุกวันนี้ การเข้าถึงเว็บไซด์นั้น สามารถเข้าผ่านได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเข้าผ่านทาง คอมพิวเตอร์ธรรมดา,โน้ตบุ๊ก หรือแม้กระทั่ง โทรศัพท์มือถือ (smart-phone) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เราแทบทุกคนขาดไม่ได้ และ ถ้าบริษัทสามารถทำ เว็บไซด์ ให้เข้าผ่านมือถือได้อย่างรวดเร็ว ก็จะยิ่งเปิดโอกาสให้คนอยากเข้ามาคลิกดูที่หน้าเพจเราเพิ่มขึ้น
3. Back- Link (แบ็คลิ้งค์) - การทำ back-link นั้น ก็มีความสำคัญ back-link หรือในความหมายแบบง่ายๆ คือ การที่มีลิ้งค์ของเว็บไซด์เราอยู่ที่เว็บไซด์อื่นโดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน และยังเป็นเครื่องบ่งชี้สำหรับ Google ด้วยว่า เว็บไซด์ของเรานั้น ได้รับการยอมรับ โดยเราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง จากการ เอาลิ้งค์ของเราใส่เข้าไปในเว็บไซด์อื่นๆที่เราต้องการจะโปรโมทเว็บ เมื่อคนได้อ่านคอนเท้นและเกิดความสนใจ ทำให้มีผู้ใช้เข้ามายังเว็บไซต์ของเรามากขึ้น
4. Long- Tail Keywords - Long-Tail Keywords คือ keyword ที่มีความเจาะจงเฉพาะสูงโดยจะเฉพาะเจาะจงลงไปว่า คำๆนั้น มีความหมายว่าอะไร? ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทำเว็บไซด์ควรคำนึงถึง คุณสมบัติของ keywords ประเภทนี้จะประกอบด้วยคำหลายๆ คำมารวมกัน ตัวอย่างเช่น
5. Publish New Blog Posts (เพิ่มโพสต์) - การอัพเดตและ เผยแพร่ โพสใหม่ๆ จะเป็นการช่วยให้มี อันดับบนเว็บ ที่ดีขึ้นกว่า บทความเก่าๆ
6. Image SEO( ทำ SEO รูปภาพ) - ในการทำ SEO นั้น นอกเหนือจากที่เราจะทำ SEO ในรูปแบบของ text แล้ว เรายังสามารถทำ SEO ในแบบของรูปภาพ ได้เช่นกัน การทำ SEO รูปภาพ นั้น มีประโยชน์อย่างมาก คือ ทำให้ search-engine เค้าเข้าใจถึงรูปภาพที่เราใส่ลงไป และทำให้รูปของเราไปติดในหมวดค้นหา อื่นๆ ได้ เช่น หมวดรูปภาพ บน Google ซึ่งเทคนิคหลักๆคือ ควรใช้รูปภาพที่ถ่ายด้วยตัวเราเอง(ดีกว่ารูปที่ซื้อมา) และ ควรตั้งชื่อรูปภาพที่สื่อความหมายให้ถูกต้อง โดยตั้งเป็น ภาษาอังกฤษ (Toyota-yaris.jpg, lovely-dog.jpg) เป็นต้น
7. Traffic( สร้าง traffic ให้คนเข้าเว็บ) - การสร้างเว็บไซด์ขึ้นมานั้น มีเป้าหมายหลักๆ คือ การทำให้คนภายนอกมีการรับรู้ถึง สินค้า และ บริการ ของเรา โดยผ่านช่องทางเว็บไซด์ที่เราสร้างขึ้นมา การทำ website traffic ก็คือการ ทำให้มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมขมเว็บไซด์ของเราให้มากขึ้น โดยควรให้ความสำคัญกับ 3 traffic หลักๆ ได้แก่ direct traffic, referral traffic, และ search engine traffic
7.1 Direct Traffic : ทราฟฟิกที่มาจากการเข้าเว็บไซด์โดยตรง และไม่ผ่านการค้นหาใน Google หรือ Social Media โดยมาจากการ พิมพ์เว็บไซด์ URL บน เบราเซอร์, คลิกเข้า link จากไฟล์เอกสารอย่าง Word, Excel หรือแม้กระทั่งคลิกผ่านเว็บที่เราเซฟ bookmark เอาไว้
7.2 Referral Traffic : ทราฟฟิกอีกประเภทที่คลิกเข้ามาที่เว็บไซด์จาก การคลิก ลิ้งค์ ผ่านเว็บไซด์ อื่นๆ เช่น ตาม โซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram), คอมเม้นจากไซด์อื่น, Google Image เป็นต้น
7.3 Search engine Traffic : ทราฟฟิกที่เชื่อมต่อมาถึงเว็บโดยตรงผ่านการค้นหาใน search engine โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
7.3.1 Paid Search Traffic : ทราฟฟิกที่มาจากการเสียเงินให้กับ search engine เช่น Google Adwords
7.3.2 Unpaid Search Traffic : ทราฟฟิกที่มาจากการจัดอันดับเว็บบน search engine แบบปกติ ไม่ได้มีการเสียเงินแต่อย่างใด
8. HTTP - https:// เป็นการเข้ารหัสข้อมูลจากเว็บไซด์ของเรา เป็นการเพิ่มความปลอดภัยเวลาติดต่อสื่อสาร หรือ ส่งข้อมูล กันบน อินเทอร์เน็ตจะมีจุดสังเกตง่ายๆ ตรงมุมซ้ายบนที่มีรูปตัวล็อกกุญแจข้างๆ https:// การเข้ารหัสนั้น มีผลดีตรงที่ว่า Google จะมองว่าเว็บเรานั้นมีการใส่ใจเรื่องของ ความปลอดภัยของข้อมูล ส่งผลให้การจัดอันดับบน Google ดีขึ้นตามไปด้วย
9. Voice Search (เพิ่มคำสั่งเสียง) - การเข้าถึงเว็บไซด์นั้นมีหลายช่องทาง และ Google ก็ได้มีการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ ออกมา อย่างเช่น การค้นหาโดยใช้เสียงของเรา อย่าง “voice search” และ ถ้าเว็บของเรานั้น มีการเพิ่มทางเลือกด้วย คำสั่งเสียง ที่ผู้คนนิยมพูดคำๆนั้นบ่อยๆ ก็จะเป็นผลดีต่ออันดับเว็บเราอีกเช่นกัน