วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ มีโครงสร้างแบบไหนบ้าง ?

การออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ สามารถทำได้หลากหลายแบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ เพราะจะต้องออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยโครงสร้างของเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วย 4 รูปแบบดังนี้

1. โครงสร้างแบบเรียงลำดับ
โครงสร้างเว็บไซต์แบบเรียงลำดับ จะเป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด เนื่องจากมีความง่ายต่อการจัดระบบข้อมูล และสามารถนำเสนอเรื่องราวตามลำดับได้เป็นอย่างดี เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก มีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ หรือเว็บไซต์องค์กรขนาดย่อม โดยลักษณะการลิ้งค์เนื้อหา ก็จะลิ้งค์ไปทีละหน้า มีทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาต่างๆ ในแบบเส้นตรง ใช้ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลังในการกำหนดทิศทาง จึงทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างง่าย แต่โครงสร้างเว็บไซต์แบบเรียงลำดับก็มีข้อเสีย คือจะทำให้ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาในการเข้าสู่เนื้อหาเพราะไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาด้วยตัวเองได้

2. โครงสร้างแบบลำดับขั้น
โครงสร้างแบบลำดับขั้น นิยมใช้กับเว็บที่มีความซับซ้อนของข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ และมีการนำเสนอรายละเอียดย่อยๆ ที่ลดหลั่นกันมา ทำให้สามารถทำความข้าใจกับโครงสร้างเนื้อหาได้ง่ายขึ้น โดยจะมีโฮมเพจเป็นจุดเริ่มต้น และจุดร่วมจุดเดียวที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงเนื้อหาเป็นลำดับจากบนลงล่าง

3. โครงสร้างแบบตาราง
โครงสร้างแบบตาราง เป็นโครงสร้างการออกแบบเว็บไซต์ที่มีความซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เนื้อหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น การออกแบบในลักษณะนี้จะมีการเชื่อมโยงเนื้อหาในแต่ละส่วนซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนทิศทาง หรือกำหนดทิศทางในการเข้าสู่เนื้อหาด้วยตัวเองได้ จึงไม่ทำให้เสียเวลา แถมยังทำให้เว็บไซต์มีความทันสมัยขึ้น

4. โครงสร้างแบบใยแมงมุม
โครงสร้างแบบใยแมงมุม เป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด โดยทุกหน้าเว็บจะมีการเชื่อมโยงถึงกันหมด ทำให้สามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างง่าย และมีความอิสระมากขึ้น นอกจากนี้ก็สามารถเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ภายนอกได้ดี

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Amazon CloudSearch คืออะไร รู้ได้ที่นี่ก่อนใคร

Amazon CloudSearch คือบริการที่ได้รับการจัดการใน AWS Cloud ทำให้เป็นบริการที่ใช้ได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง จัดการ และปรับโซลูชันการค้นหาสำหรับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

Amazon CloudSearch รองรับภาษาต่างๆ ถึง 34 ภาษาและคุณสมบัติการค้นหาที่เป็นที่นิยม เช่น การไฮไลต์ การป้อนคำอัตโนมัติ และการค้นหาภูมิสารสนเทศ ดูประโยชน์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

ประโยชน์ของ Amazon CloudSearch

เมื่อใช้ Amazon CloudSearch คุณจะเพิ่มความสามารถในการค้นหาที่รวดเร็วและสมบูรณ์แบบให้กับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาหรือกังวลเกี่ยวกับการเตรียม การติดตั้ง และการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ ด้วยการคลิกไม่กี่ครั้งใน AWS Management Console คุณจะสามารถสร้างโดเมนการค้นหาและอัปโหลดข้อมูลที่คุณต้องการให้ค้นหาได้ และ Amazon CloudSearch จะเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นและปรับใช้ดัชนีการค้นหาที่ปรับแต่งมาอย่างดีโดยอัตโนมัติ

คุณสามารถค้นหาพารามิเตอร์ ปรับความเกี่ยวเนื่องของการค้นหาโดยละเอียด และนำการตั้งค่าใหม่ไปใช้ได้อย่างง่ายได้ ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม เมื่อปริมาณข้อมูลและการใช้งานเกิดการเปลี่ยนแปลง Amazon CloudSearch สามารถปรับขนาดให้ตรงกับความต้องการของคุณได้อย่างราบรื่น

Amazon CloudSearch มาพร้อมกับความเรียบง่าย

คุณสามารถกำหนดและจัดการโดเมน Amazon CloudSearch ผ่าน AWS Management Console, AWS CLI และ AWS SDKs ได้ เพียงชี้ไปที่ตัวอย่างข้อมูล และ Amazon CloudSearch จะแนะนำวิธีการกำหนดตัวเลือกการทำดัชนีของโดเมนโดยอัตโนมัติ คุณสามารถเพิ่มหรือลบช่องดัชนีและกำหนดตัวเลือกการค้นหา เช่น การคัดกรองและการไฮไลต์ ได้อย่างง่ายดาย คุณไม่จำเป็นต้องอัปโหลดข้อมูลใหม่อีกครั้งเมื่อเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า

ศึกษา Amazon CloudSearch เพิ่มเติมได้ที่ Amazon CouldSearch

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทำ SEO ให้กับ Facebook Page ยังไงให้มีคุณภาพ

1. Quality Update และ 2. Limited Facebook Page บนหน้า SERPs ส่งผลให้ ทำ SEO กับ Facebook Page ไม่ง่ายแบบในอดีต เพราะคุณจำเป็นที่จะต้องทำให้เพจ อยู่ในระดับ Top Quality #1 #2 #3 #4 จากเพจทั้งหมดของ Keyword นั้นๆในสายตาของ Google … มันถึงจะยอมแสดงผลการค้นหาให้

พูดแบบง่ายๆได้ว่า หากเฟสบุ๊คเพจคุณ Google มองแล้วมีคุณภาพต่ำกว่าคู่แข่งที่เป็นเพจด้วยกัน คือต่ำกว่าอันดับที่ 4 ในสายตามัน เพจคุณหมดสิทธิ์ขึ้นหน้า Google … ซึ่งนี่เป็นนัยยะที่บ่งบอกเราว่า นอกเหนือจากคู่แข่งที่เป็น Website อื่นๆ คู่แข่งตัวสำคัญที่สุดของคุณ ณ ตอนนี้ คือ Facebook Page ด้วยกันนี่แหละ

ดังนั้นแทนที่เราจะมุ่งเป้าไปที่โจทย์แบบเดิมๆ ที่ว่า “วิธีทำ SEO Facebook Page ทำอย่างไร ?” ควรเปลี่ยนใหม่เป็น “วิธีทำ Facebook Page ให้มีคุณภาพ (สูงสุดในสายตา Google) ทำอย่างไร ?” ซึ่งหากพยายามมอง Facebook Page ให้เหมือนกับ Website จะพบว่ามันมีองค์ประกอบสำคัญๆที่คล้ายกัน

  • 1. Title หรือ ชื่อเพจ – เทียบได้กับ Title ที่เราเขียนใส่ในหน้าเว็บไซต์
  • 2. Main Menu – เทียบได้กับเมนูบนเว็บไซต์ แต่บนเฟสเพจจะประกอบไปด้วย
    • • Timeline (ไทม์ไลน์) – เทียบได้กับ เมนู HOME (หน้าแรก) ในเว็บไซต์
    • • About (เกี่ยวกับ) – เทียบได้กับ เมนู About ในเว็บไซต์
    • • Photos (รูปภาพ) – เทียบได้กับ เมนู Gallery ในเว็บไซต์
    • • Likes (ไลค์) – อาจเทียบได้กับตัวนับสถิติ ของเว็บไซต์
    • • More (เพิ่มเติม) – ในที่นี้อาจจะเห็น Notes, Videos, App ก็นับว่าเป็นเมนูบนเว็บไซต์
  • 3. Main Content – เทียบได้ เนื้อหา หลักในเว็บไซต์
  • 4. Sidebar – เทียบได้กับ Sidebar ในเว็บไซต์ ซึ่งถือเป็น Supplementary Content ในที่นี้ มี

การปรับแต่ง Onpage ให้กับ Facebook

1. การตั้งชื่อเพจ ถือเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด อันดับ #1 ในการช่วยทำให้ Google เข้าใจได้ว่า เพจของเราเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น หากเราต้องการทำ SEO ให้กับเฟสเพจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องแทรก Keyword (คำค้นหา) ลงไปในชื่อเพจด้วย และที่สำคัญคือ นอกเหนือจากจะมีผลต่อ Google แล้ว ยังมีผลต่อ Search บนตัว Facebook เอง (การค้นหาจากเฟสบุ๊คโดยตรง)

2. การใส่ข้อมูลของเพจ (Page Info) ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน เพราะเนื่องจากจะส่งสัญญาณบอก Google แล้ว ยังช่วยให้ Audience (คนดู) รู้จักเราหรือธุรกิจของเรา มากยิ่งขึ้น โดยส่วนที่สำคัญๆที่ต้องเน้น

3. Timeline บนเฟสบุ๊คเพจ เปรียบเสมือน หน้า Homepage ถ้ามองเทียบกับ Website ปกติ ผมมองว่ามันมีลักษณะ คล้ายๆกับ One-Page Designed Website (คือ เว็บที่มีหน้าเดียว เวลาดูข้อมูลจะเลื่อนลงมาเรื่อยๆ ไม่ใช่ Multi-Page แบบเว็บทั่วไป One-Page Website เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เหตุเพราะมันเหมาะกับการดูบนมือถือ)

4. ในอดีตผมเคยคิดว่า รูปภาพ นั้นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็น และเชื่อว่าคนทำ SEO กับ Facebook Page หลายๆคนก็คงจะมองข้ามจุดนี้ไปเช่นกัน แต่ผมขอบอกแบบ “ฟันธง” ตรงนี้เลยว่า ในปัจจุบัน “เพจที่มีการอัพรูปภาพ Image ลงเยอะๆ มีแนวโน้ม ที่จะทำถูกจัดอันดับได้ดีกว่าเพจที่มีรูปน้อย”

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

3 เทรนด์ในการออกแบบเว็บไซต์ปี 2018

1. Responsive Mobile First - ในปัจจุบันเทรนด์การเข้าเว็บไซต์ผ่านหน้าจอมือถือมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยขอยกให้เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องนึกถึง ขนาดที่ Google เองก็ยังหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์สำหรับมือถือมากขึ้น ฉะนั้นการทำเว็บไซต์เราควรจะใส่ใจกับการใช้งานบนมือถือให้มาก เน้นเรื่องคุณภาพของหน้าเว็บสำหรับมือถือ รวมถึงการใช้ AMP (Accerelated Mobile Page) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการโหลดหน้าเว็บให้เร็วยิ่งขึ้น

2. Landing Page - หน้า Landing Page เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้ชมจะเห็น คุณจะต้องทำให้คุณโดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่น จะต้องจูงใจให้ผู้เข้าชมอยู่เว็บไซต์ของคุณให้นานที่สุดและเกิดความสนใจในบริการและสินค้าของคุณ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง

3. Layout - ในปี 2018 การออกแบบเว็บไซต์ Grid Layout จะมีความหลากหลายมากขึ้น เน้นการออกแบบสไตล์ง่ายๆ ที่ใช้พื้นที่สีขาว เรียกว่า Negative Space จะทำให้ตัวคอนเทนต์โดดเด่น และง่ายต่อการอ่าน เทรนด์การออกแบบรูปแบบนี้ยังถนอมดวงตา และทำให้ผู้อ่านใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์ของคุณนานขึ้นอีกด้วย

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทิศทางและแนวโน้ม เทรน SEO ในปี 2019 จะเป็นอย่างไร

ถ้ามองถึงแนวโน้มและทิศทางของความเป็นไปได้สำหรับ เทรน SEO 2019 ยังไม่มีใครที่สามารถตอบได้ว่า Google จะออกอัลกอริทึมตัวใหม่ออกมาแบบไหน แต่อย่างไรก็ตามวันนี้เราจะมาคาดการณ์กันว่าในปี 2019 นั้น เทรน SEO จะมีทิศทางและแนวโน้มไปในรูปแบบไหน

1. ประสบการณ์ผู้ใช้ - ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปในปี 2015 ที่ Google ประกาศอัลกอริทึมที่เรียกว่า RankBrain ซึ่งหลังจากนั้นเจ้า RankBrain นี้เป็นสิ่งสำคัญอันดับที่ 3 ในการทำอันดับเว็บไซต์ ถึงแม้ว่าจะเป็นอัลกิริทึมที่ประกาศใช้งานมาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว แต่อย่าลืมว่า AI ตัวนี้ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดูได้จากรูปด้านล่าง

2. ความสำคัญในการค้นหาผ่านมือถือ (Mobile First Index) - ในปัจจุบันประมาณ 60% ของการค้นหาใน Google เป็นการค้นหาผ่านโทรศัพท์มือถือแทบทั้งสิ้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไม Google ถึงให้ความสำคัญกับการค้นหาในมือถือ ( Mobile-first indexing ) และเว็บต้องตอบสนองการใช้งานในมือถือได้ดีขึ้นในอนาคต SEO ดังนั้นต้องแน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณรองรับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ Responsive Design หรือทำเว็บไซต์ให้เวอร์ชั่นเดสท็อปและมือถือให้มีความเท่าเทียมกัน

3. วีดีโอ คอนเทนท์ - วีดีโอคอนเทนท์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในปัจจุบันเพราะทำให้ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์สามารถอยู่ภายในเว็บของเราได้นานยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า Dwell Time โดยจาการสำรวจของ Cisco พบว่ากว่า 80% ของวีดีโอคอนเทนท์สามารถเพิ่มทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์ของเราได้

4. การค้นหาด้วยเสียง (Voice Search) - การค้นหาด้วยเสียงของ Google นั้นไม่ใช่มีเพียงค้นหาเบอร์โทรศัพท์แต่สามารถค้นหาด้วยการที่เพียงพูด Keyword ที่ต้องการค้นหาเข้าไปได้ ปัจจุบันมากกว่า 20% ของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือใช้การค้นหาด้วยเสียง ดังนั้นการค้นหาด้วยเสียงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับเว็บไซต์หรือการทำ SEO Voice Search

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ดัน SEO ไม่ขึ้น บทความดีแต่ยังไม่ติดอันดับค้นหา ทำยังไง

การที่เราเขียนบทความในเว็บไซต์เพื่อดันอันดับ SEO ให้มีการค้นหาติดอันดับของ Google โดยบทความที่เราเขียนไปคิดว่ามีคุณภาพมากเพียงพอที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ แต่เพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้อันดับยังไม่ติดการค้นหาของ Google วันนี้ www.seo-winner.com มีคำตอบให้ทุกคน

1. การจัดการเว็บไซต์ยังไม่ดีเพียงพอ เช่น ไม่ว่าจะเป็นลิงก์เสีย ไม่ใส่ข้อมูล Meta descriptions , Meta Keyword และ การเขียนโค้ดที่ไม่เป็นมิตรกับการโหลดเว็บไซต์ ไม่มีการแบ่งหมวดหมู่ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ต่างมีผลต่อการจัดอันดับทั้งสิ้น

2. เว็บไซต์ของคุณไม่รองรับมือถือ ในปัจจุบันนี้ ยอดขายสมาร์ตโฟนเติบโตขึ้นสูงมาก และมีผู้คนกว่าร้อยละ 60 ที่ใช้มือถือค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ สินค้าและบริการ จึงทำให้เป็นยุคที่เว็บไซต์ต้องปรับตัวรองรับสมาร์ตโฟนให้ได้ ถ้าหากพบว่าเว็บไซต์มีปัญหาเหล่านี้ จึงควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพื่อให้บทความ และคอนเทนต์ SEO ของเราติดค้นหาเป็นลำดับต้นๆ และช่วยให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือในสายตาของ Google มากขึ้น ซึ่งจะจัดว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ และทำให้การจัดอันดับคีย์เวิร์ดดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด