วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ประสบการณ์ผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญต่อ SEO

ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ UX ที่เต็มเปี่ยม อย่างไรก็ตามควรทำความเข้าใจหลักการพื้นฐาน UX ของเว็บไซต์จำนวนมาก

การเพิ่มประสิทธิภาพของ UX ไม่มีอะไรมากไปกว่าการเน้นผู้เข้าชม

ทุกสิ่งที่เราทำในขอบเขตของการตลาดบนเว็บจะต้องตอบโจทย์กลุ่มมีผู้ชมที่เข้าใช้งานเว็บไซต์

ใช่แล้วเราทำสิ่งต่างๆสำหรับ Search Engines แต่ Search Engines มักจะเรียนรู้จากสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการเป็นหลัก

เครื่องมือค้นหามีข้อมูลการทำเหมืองข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดในโลก พวกเขาไม่ใช่แค่ช่วยให้ผู้คนค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการ พวกเขากำลังรวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ จากข้อมูลนั้นอัลกอริทึมได้รับการปรับแต่งเพื่อให้ผู้ค้นหาได้รับสิ่งที่ต้องการมากขึ้นและน้อยลงในสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ

นอนไม่หลับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ทำ SEO เพื่อสร้างธุรกิจ เพิ่มยอดขายให้ปังกว่าเดิม

ในปัจจุบัน การทำ SEO โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจออนไลน์ นั้น เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และ การเพิ่มจำนวนคนเข้ามาถึงเว็บไซด์ของเรา จากการค้นหา ใน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง และนี่คือ 10 ปัจจัยสำคัญ ที่จำเป็นต่อการเพิ่มอันดับ SEO ให้กับเว็บไซต์

1. Content (เนื้อหาบนเว็บ) - ในบรรดาปัจจัยทั้งหมด เนื้อหา หรือ Content ก็ยังคงมีความสำคัญมากที่สุด ต่อการจัดอันดับ ของ Google โดย Google จะดูถึงความเกี่ยวข้องของเนื้อหา มากกว่า การใส่ใจ เรื่อง keyword ว่าจะมีแทรกอยู่ในบทความหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ถ้า content ที่เขียนนั้น มีเนื้อหาที่ยาว, ละเอียด และสามารถบอกเล่าข้อมูลต่างๆได้ดี ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดอันดับต้นๆ

2. Mobile Friendly User (ความคล่องตัวในการเข้าเว็บผ่านมือถือ) - ทุกวันนี้ การเข้าถึงเว็บไซด์นั้น สามารถเข้าผ่านได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเข้าผ่านทาง คอมพิวเตอร์ธรรมดา,โน้ตบุ๊ก หรือแม้กระทั่ง โทรศัพท์มือถือ (smart-phone) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เราแทบทุกคนขาดไม่ได้ และ ถ้าบริษัทสามารถทำ เว็บไซด์ ให้เข้าผ่านมือถือได้อย่างรวดเร็ว ก็จะยิ่งเปิดโอกาสให้คนอยากเข้ามาคลิกดูที่หน้าเพจเราเพิ่มขึ้น

3. Back- Link (แบ็คลิ้งค์) - การทำ back-link นั้น ก็มีความสำคัญ back-link หรือในความหมายแบบง่ายๆ คือ การที่มีลิ้งค์ของเว็บไซด์เราอยู่ที่เว็บไซด์อื่นโดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน และยังเป็นเครื่องบ่งชี้สำหรับ Google ด้วยว่า เว็บไซด์ของเรานั้น ได้รับการยอมรับ โดยเราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง จากการ เอาลิ้งค์ของเราใส่เข้าไปในเว็บไซด์อื่นๆที่เราต้องการจะโปรโมทเว็บ เมื่อคนได้อ่านคอนเท้นและเกิดความสนใจ ทำให้มีผู้ใช้เข้ามายังเว็บไซต์ของเรามากขึ้น

4. Long- Tail Keywords - Long-Tail Keywords คือ keyword ที่มีความเจาะจงเฉพาะสูงโดยจะเฉพาะเจาะจงลงไปว่า คำๆนั้น มีความหมายว่าอะไร? ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทำเว็บไซด์ควรคำนึงถึง คุณสมบัติของ keywords ประเภทนี้จะประกอบด้วยคำหลายๆ คำมารวมกัน ตัวอย่างเช่น

5. Publish New Blog Posts (เพิ่มโพสต์) - การอัพเดตและ เผยแพร่ โพสใหม่ๆ จะเป็นการช่วยให้มี อันดับบนเว็บ ที่ดีขึ้นกว่า บทความเก่าๆ

6. Image SEO( ทำ SEO รูปภาพ) - ในการทำ SEO นั้น นอกเหนือจากที่เราจะทำ SEO ในรูปแบบของ text แล้ว เรายังสามารถทำ SEO ในแบบของรูปภาพ ได้เช่นกัน การทำ SEO รูปภาพ นั้น มีประโยชน์อย่างมาก คือ ทำให้ search-engine เค้าเข้าใจถึงรูปภาพที่เราใส่ลงไป และทำให้รูปของเราไปติดในหมวดค้นหา อื่นๆ ได้ เช่น หมวดรูปภาพ บน Google ซึ่งเทคนิคหลักๆคือ ควรใช้รูปภาพที่ถ่ายด้วยตัวเราเอง(ดีกว่ารูปที่ซื้อมา) และ ควรตั้งชื่อรูปภาพที่สื่อความหมายให้ถูกต้อง โดยตั้งเป็น ภาษาอังกฤษ (Toyota-yaris.jpg, lovely-dog.jpg) เป็นต้น

7. Traffic( สร้าง traffic ให้คนเข้าเว็บ) - การสร้างเว็บไซด์ขึ้นมานั้น มีเป้าหมายหลักๆ คือ การทำให้คนภายนอกมีการรับรู้ถึง สินค้า และ บริการ ของเรา โดยผ่านช่องทางเว็บไซด์ที่เราสร้างขึ้นมา การทำ website traffic ก็คือการ ทำให้มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมขมเว็บไซด์ของเราให้มากขึ้น โดยควรให้ความสำคัญกับ 3 traffic หลักๆ ได้แก่ direct traffic, referral traffic, และ search engine traffic

7.1 Direct Traffic : ทราฟฟิกที่มาจากการเข้าเว็บไซด์โดยตรง และไม่ผ่านการค้นหาใน Google หรือ Social Media โดยมาจากการ พิมพ์เว็บไซด์ URL บน เบราเซอร์, คลิกเข้า link จากไฟล์เอกสารอย่าง Word, Excel หรือแม้กระทั่งคลิกผ่านเว็บที่เราเซฟ bookmark เอาไว้

7.2 Referral Traffic : ทราฟฟิกอีกประเภทที่คลิกเข้ามาที่เว็บไซด์จาก การคลิก ลิ้งค์ ผ่านเว็บไซด์ อื่นๆ เช่น ตาม โซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram), คอมเม้นจากไซด์อื่น, Google Image เป็นต้น

7.3 Search engine Traffic : ทราฟฟิกที่เชื่อมต่อมาถึงเว็บโดยตรงผ่านการค้นหาใน search engine โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

7.3.1 Paid Search Traffic : ทราฟฟิกที่มาจากการเสียเงินให้กับ search engine เช่น Google Adwords

7.3.2 Unpaid Search Traffic : ทราฟฟิกที่มาจากการจัดอันดับเว็บบน search engine แบบปกติ ไม่ได้มีการเสียเงินแต่อย่างใด

8. HTTP - https:// เป็นการเข้ารหัสข้อมูลจากเว็บไซด์ของเรา เป็นการเพิ่มความปลอดภัยเวลาติดต่อสื่อสาร หรือ ส่งข้อมูล กันบน อินเทอร์เน็ตจะมีจุดสังเกตง่ายๆ ตรงมุมซ้ายบนที่มีรูปตัวล็อกกุญแจข้างๆ https:// การเข้ารหัสนั้น มีผลดีตรงที่ว่า Google จะมองว่าเว็บเรานั้นมีการใส่ใจเรื่องของ ความปลอดภัยของข้อมูล ส่งผลให้การจัดอันดับบน Google ดีขึ้นตามไปด้วย

9. Voice Search (เพิ่มคำสั่งเสียง) - การเข้าถึงเว็บไซด์นั้นมีหลายช่องทาง และ Google ก็ได้มีการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ ออกมา อย่างเช่น การค้นหาโดยใช้เสียงของเรา อย่าง “voice search” และ ถ้าเว็บของเรานั้น มีการเพิ่มทางเลือกด้วย คำสั่งเสียง ที่ผู้คนนิยมพูดคำๆนั้นบ่อยๆ ก็จะเป็นผลดีต่ออันดับเว็บเราอีกเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เว็บไซต์ เร็วกว่า ดีกว่าจริงหรือ ? กับการทำ SEO

1. เร็วกว่าใช่จะ 'ดีกว่า'

สิ่งแรกที่เราลงมือทำคือความเว็บของเว็บไซต์ ยิ่งเว็บไซต์ของคุณเร็วขึ้นเท่าใด Google ก็จะให้ความสำคัญกับไซต์ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบความเร็วของเว็บไซต์จาก Google มีชื่อว่า Google PageSpeed Insights โดยเครื่องมือตัวนี้จะบอกถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงในเว็บไซต์เพื่อให้เว็บมีเความเร็วมากยิ่งขึ้น

หนึ่งในสิ่งที่ถูกแนะนำให้แก้ไขและปรับปรุงคือ คุณภาพของรูปภาพในเว็บไซต์ หลายๆเว็บไซต์มีรูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ใช้เวลาในการโหลดเข้าเว็บไซต์นานจนเกินไป คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการรีไซต์หรือลดขนาดคุณภาพของรูปภาพลงเพื่อความเร็วในการโหลดภายในเว็บไซต์

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถเพิ่มความเร็วให้กับเว็บไซต์ได้คือการทำ แคชชิ่ง หรือ เก็บข้อมูลการโหลดของเว็บไซต์สำหรับคนเข้าใช้งาน ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คนที่เข้าใช้งานเว็บเมื่อออกไปแล้วกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาในการโหลดหน้าเว็บน้อยลง

บทความจาก : www.seo-winner.com

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เว็บไซต์ที่ทำควรมีฟังก์ชันยังไง?

คำถามนี้เจ้าของธุรกิจควรต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนเลยว่า "ธุรกิจของคุณคืออะไร" และ "คุณต้องการให้เว็บไซต์เป็นอะไรสำหรับคุณ"

ถ้าคุณทำธุรกิจขายบ้าน - คงไม่มีใครบ้าทำเป็นเว็บไซต์ E-Commerce แบบ "หยิบสินค้าใส่ตะกร้า" แล้วเลือกชำระเงิน พร้อมใบเสร็จรับเงิน "บ้าน 1 หลัง + Full Furniture ราคา 3.5 ล้านบาท" ถ้าเป็นธุรกิจแนวนี้ก็ต้องเน้นการทำเว็บไซต์แบบให้ข้อมูล (Information) แล้วทำแบบฟอร์มเพื่อเก็บ Leads และติดต่อหาลูกค้าเพื่อปิดการขายอีกทีหนึ่ง เพราะบ้านไม่ได้ขายได้ด้วยตัวมันเอง แต่ต้องอาศัยการพูดคุยกับเซลล์เพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจด้วย

ถ้าคุณทำธุรกิจขายกระเป๋า หรือเสื้อผ้า - สินค้าแฟชั่นจะขายได้หรือไม่ได้ ส่วนใหญ่อยู่ที่ดีไซน์ และความสวยงาม ซึ่งเท่ากับว่า มันขายได้ด้วยตัวมันเอง เราก็ทำเป็นเว็บ E-Commerce ให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้า พร้อมตัดสต๊อกได้ทันที โดยที่ไม่ต้องคุยแชทเพื่อ CF กันด้วย

แต่ถ้าหากคุณต้องการเว็บไซต์ในแบบที่คุณดีไซน์ไว้ โดยมีฟังก์ชันที่ต้องการ 1, 2, 3,... และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมาก คุณอาจจะต้องสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเอง เพื่อสร้างฟังก์ชันนั้นๆ ให้ตรงตามต้องการ ซึ่งจุดนี้อยู่ที่เจ้าของธุรกิจเป็นหลัก

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ มีโครงสร้างแบบไหนบ้าง ?

การออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ สามารถทำได้หลากหลายแบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ เพราะจะต้องออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยโครงสร้างของเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วย 4 รูปแบบดังนี้

1. โครงสร้างแบบเรียงลำดับ
โครงสร้างเว็บไซต์แบบเรียงลำดับ จะเป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด เนื่องจากมีความง่ายต่อการจัดระบบข้อมูล และสามารถนำเสนอเรื่องราวตามลำดับได้เป็นอย่างดี เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก มีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ หรือเว็บไซต์องค์กรขนาดย่อม โดยลักษณะการลิ้งค์เนื้อหา ก็จะลิ้งค์ไปทีละหน้า มีทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาต่างๆ ในแบบเส้นตรง ใช้ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลังในการกำหนดทิศทาง จึงทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างง่าย แต่โครงสร้างเว็บไซต์แบบเรียงลำดับก็มีข้อเสีย คือจะทำให้ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาในการเข้าสู่เนื้อหาเพราะไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาด้วยตัวเองได้

2. โครงสร้างแบบลำดับขั้น
โครงสร้างแบบลำดับขั้น นิยมใช้กับเว็บที่มีความซับซ้อนของข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยจะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ และมีการนำเสนอรายละเอียดย่อยๆ ที่ลดหลั่นกันมา ทำให้สามารถทำความข้าใจกับโครงสร้างเนื้อหาได้ง่ายขึ้น โดยจะมีโฮมเพจเป็นจุดเริ่มต้น และจุดร่วมจุดเดียวที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงเนื้อหาเป็นลำดับจากบนลงล่าง

3. โครงสร้างแบบตาราง
โครงสร้างแบบตาราง เป็นโครงสร้างการออกแบบเว็บไซต์ที่มีความซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เนื้อหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น การออกแบบในลักษณะนี้จะมีการเชื่อมโยงเนื้อหาในแต่ละส่วนซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนทิศทาง หรือกำหนดทิศทางในการเข้าสู่เนื้อหาด้วยตัวเองได้ จึงไม่ทำให้เสียเวลา แถมยังทำให้เว็บไซต์มีความทันสมัยขึ้น

4. โครงสร้างแบบใยแมงมุม
โครงสร้างแบบใยแมงมุม เป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด โดยทุกหน้าเว็บจะมีการเชื่อมโยงถึงกันหมด ทำให้สามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างง่าย และมีความอิสระมากขึ้น นอกจากนี้ก็สามารถเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ภายนอกได้ดี

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Amazon CloudSearch คืออะไร รู้ได้ที่นี่ก่อนใคร

Amazon CloudSearch คือบริการที่ได้รับการจัดการใน AWS Cloud ทำให้เป็นบริการที่ใช้ได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง จัดการ และปรับโซลูชันการค้นหาสำหรับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

Amazon CloudSearch รองรับภาษาต่างๆ ถึง 34 ภาษาและคุณสมบัติการค้นหาที่เป็นที่นิยม เช่น การไฮไลต์ การป้อนคำอัตโนมัติ และการค้นหาภูมิสารสนเทศ ดูประโยชน์เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

ประโยชน์ของ Amazon CloudSearch

เมื่อใช้ Amazon CloudSearch คุณจะเพิ่มความสามารถในการค้นหาที่รวดเร็วและสมบูรณ์แบบให้กับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาหรือกังวลเกี่ยวกับการเตรียม การติดตั้ง และการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ ด้วยการคลิกไม่กี่ครั้งใน AWS Management Console คุณจะสามารถสร้างโดเมนการค้นหาและอัปโหลดข้อมูลที่คุณต้องการให้ค้นหาได้ และ Amazon CloudSearch จะเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นและปรับใช้ดัชนีการค้นหาที่ปรับแต่งมาอย่างดีโดยอัตโนมัติ

คุณสามารถค้นหาพารามิเตอร์ ปรับความเกี่ยวเนื่องของการค้นหาโดยละเอียด และนำการตั้งค่าใหม่ไปใช้ได้อย่างง่ายได้ ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม เมื่อปริมาณข้อมูลและการใช้งานเกิดการเปลี่ยนแปลง Amazon CloudSearch สามารถปรับขนาดให้ตรงกับความต้องการของคุณได้อย่างราบรื่น

Amazon CloudSearch มาพร้อมกับความเรียบง่าย

คุณสามารถกำหนดและจัดการโดเมน Amazon CloudSearch ผ่าน AWS Management Console, AWS CLI และ AWS SDKs ได้ เพียงชี้ไปที่ตัวอย่างข้อมูล และ Amazon CloudSearch จะแนะนำวิธีการกำหนดตัวเลือกการทำดัชนีของโดเมนโดยอัตโนมัติ คุณสามารถเพิ่มหรือลบช่องดัชนีและกำหนดตัวเลือกการค้นหา เช่น การคัดกรองและการไฮไลต์ ได้อย่างง่ายดาย คุณไม่จำเป็นต้องอัปโหลดข้อมูลใหม่อีกครั้งเมื่อเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า

ศึกษา Amazon CloudSearch เพิ่มเติมได้ที่ Amazon CouldSearch

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทำ SEO ให้กับ Facebook Page ยังไงให้มีคุณภาพ

1. Quality Update และ 2. Limited Facebook Page บนหน้า SERPs ส่งผลให้ ทำ SEO กับ Facebook Page ไม่ง่ายแบบในอดีต เพราะคุณจำเป็นที่จะต้องทำให้เพจ อยู่ในระดับ Top Quality #1 #2 #3 #4 จากเพจทั้งหมดของ Keyword นั้นๆในสายตาของ Google … มันถึงจะยอมแสดงผลการค้นหาให้

พูดแบบง่ายๆได้ว่า หากเฟสบุ๊คเพจคุณ Google มองแล้วมีคุณภาพต่ำกว่าคู่แข่งที่เป็นเพจด้วยกัน คือต่ำกว่าอันดับที่ 4 ในสายตามัน เพจคุณหมดสิทธิ์ขึ้นหน้า Google … ซึ่งนี่เป็นนัยยะที่บ่งบอกเราว่า นอกเหนือจากคู่แข่งที่เป็น Website อื่นๆ คู่แข่งตัวสำคัญที่สุดของคุณ ณ ตอนนี้ คือ Facebook Page ด้วยกันนี่แหละ

ดังนั้นแทนที่เราจะมุ่งเป้าไปที่โจทย์แบบเดิมๆ ที่ว่า “วิธีทำ SEO Facebook Page ทำอย่างไร ?” ควรเปลี่ยนใหม่เป็น “วิธีทำ Facebook Page ให้มีคุณภาพ (สูงสุดในสายตา Google) ทำอย่างไร ?” ซึ่งหากพยายามมอง Facebook Page ให้เหมือนกับ Website จะพบว่ามันมีองค์ประกอบสำคัญๆที่คล้ายกัน

  • 1. Title หรือ ชื่อเพจ – เทียบได้กับ Title ที่เราเขียนใส่ในหน้าเว็บไซต์
  • 2. Main Menu – เทียบได้กับเมนูบนเว็บไซต์ แต่บนเฟสเพจจะประกอบไปด้วย
    • • Timeline (ไทม์ไลน์) – เทียบได้กับ เมนู HOME (หน้าแรก) ในเว็บไซต์
    • • About (เกี่ยวกับ) – เทียบได้กับ เมนู About ในเว็บไซต์
    • • Photos (รูปภาพ) – เทียบได้กับ เมนู Gallery ในเว็บไซต์
    • • Likes (ไลค์) – อาจเทียบได้กับตัวนับสถิติ ของเว็บไซต์
    • • More (เพิ่มเติม) – ในที่นี้อาจจะเห็น Notes, Videos, App ก็นับว่าเป็นเมนูบนเว็บไซต์
  • 3. Main Content – เทียบได้ เนื้อหา หลักในเว็บไซต์
  • 4. Sidebar – เทียบได้กับ Sidebar ในเว็บไซต์ ซึ่งถือเป็น Supplementary Content ในที่นี้ มี

การปรับแต่ง Onpage ให้กับ Facebook

1. การตั้งชื่อเพจ ถือเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด อันดับ #1 ในการช่วยทำให้ Google เข้าใจได้ว่า เพจของเราเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น หากเราต้องการทำ SEO ให้กับเฟสเพจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องแทรก Keyword (คำค้นหา) ลงไปในชื่อเพจด้วย และที่สำคัญคือ นอกเหนือจากจะมีผลต่อ Google แล้ว ยังมีผลต่อ Search บนตัว Facebook เอง (การค้นหาจากเฟสบุ๊คโดยตรง)

2. การใส่ข้อมูลของเพจ (Page Info) ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน เพราะเนื่องจากจะส่งสัญญาณบอก Google แล้ว ยังช่วยให้ Audience (คนดู) รู้จักเราหรือธุรกิจของเรา มากยิ่งขึ้น โดยส่วนที่สำคัญๆที่ต้องเน้น

3. Timeline บนเฟสบุ๊คเพจ เปรียบเสมือน หน้า Homepage ถ้ามองเทียบกับ Website ปกติ ผมมองว่ามันมีลักษณะ คล้ายๆกับ One-Page Designed Website (คือ เว็บที่มีหน้าเดียว เวลาดูข้อมูลจะเลื่อนลงมาเรื่อยๆ ไม่ใช่ Multi-Page แบบเว็บทั่วไป One-Page Website เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เหตุเพราะมันเหมาะกับการดูบนมือถือ)

4. ในอดีตผมเคยคิดว่า รูปภาพ นั้นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็น และเชื่อว่าคนทำ SEO กับ Facebook Page หลายๆคนก็คงจะมองข้ามจุดนี้ไปเช่นกัน แต่ผมขอบอกแบบ “ฟันธง” ตรงนี้เลยว่า ในปัจจุบัน “เพจที่มีการอัพรูปภาพ Image ลงเยอะๆ มีแนวโน้ม ที่จะทำถูกจัดอันดับได้ดีกว่าเพจที่มีรูปน้อย”

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

3 เทรนด์ในการออกแบบเว็บไซต์ปี 2018

1. Responsive Mobile First - ในปัจจุบันเทรนด์การเข้าเว็บไซต์ผ่านหน้าจอมือถือมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยขอยกให้เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องนึกถึง ขนาดที่ Google เองก็ยังหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบเว็บไซต์สำหรับมือถือมากขึ้น ฉะนั้นการทำเว็บไซต์เราควรจะใส่ใจกับการใช้งานบนมือถือให้มาก เน้นเรื่องคุณภาพของหน้าเว็บสำหรับมือถือ รวมถึงการใช้ AMP (Accerelated Mobile Page) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการโหลดหน้าเว็บให้เร็วยิ่งขึ้น

2. Landing Page - หน้า Landing Page เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้ชมจะเห็น คุณจะต้องทำให้คุณโดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่น จะต้องจูงใจให้ผู้เข้าชมอยู่เว็บไซต์ของคุณให้นานที่สุดและเกิดความสนใจในบริการและสินค้าของคุณ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง

3. Layout - ในปี 2018 การออกแบบเว็บไซต์ Grid Layout จะมีความหลากหลายมากขึ้น เน้นการออกแบบสไตล์ง่ายๆ ที่ใช้พื้นที่สีขาว เรียกว่า Negative Space จะทำให้ตัวคอนเทนต์โดดเด่น และง่ายต่อการอ่าน เทรนด์การออกแบบรูปแบบนี้ยังถนอมดวงตา และทำให้ผู้อ่านใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์ของคุณนานขึ้นอีกด้วย

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทิศทางและแนวโน้ม เทรน SEO ในปี 2019 จะเป็นอย่างไร

ถ้ามองถึงแนวโน้มและทิศทางของความเป็นไปได้สำหรับ เทรน SEO 2019 ยังไม่มีใครที่สามารถตอบได้ว่า Google จะออกอัลกอริทึมตัวใหม่ออกมาแบบไหน แต่อย่างไรก็ตามวันนี้เราจะมาคาดการณ์กันว่าในปี 2019 นั้น เทรน SEO จะมีทิศทางและแนวโน้มไปในรูปแบบไหน

1. ประสบการณ์ผู้ใช้ - ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปในปี 2015 ที่ Google ประกาศอัลกอริทึมที่เรียกว่า RankBrain ซึ่งหลังจากนั้นเจ้า RankBrain นี้เป็นสิ่งสำคัญอันดับที่ 3 ในการทำอันดับเว็บไซต์ ถึงแม้ว่าจะเป็นอัลกิริทึมที่ประกาศใช้งานมาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว แต่อย่าลืมว่า AI ตัวนี้ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดูได้จากรูปด้านล่าง

2. ความสำคัญในการค้นหาผ่านมือถือ (Mobile First Index) - ในปัจจุบันประมาณ 60% ของการค้นหาใน Google เป็นการค้นหาผ่านโทรศัพท์มือถือแทบทั้งสิ้น นั่นคือเหตุผลว่าทำไม Google ถึงให้ความสำคัญกับการค้นหาในมือถือ ( Mobile-first indexing ) และเว็บต้องตอบสนองการใช้งานในมือถือได้ดีขึ้นในอนาคต SEO ดังนั้นต้องแน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณรองรับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ Responsive Design หรือทำเว็บไซต์ให้เวอร์ชั่นเดสท็อปและมือถือให้มีความเท่าเทียมกัน

3. วีดีโอ คอนเทนท์ - วีดีโอคอนเทนท์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในปัจจุบันเพราะทำให้ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์สามารถอยู่ภายในเว็บของเราได้นานยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า Dwell Time โดยจาการสำรวจของ Cisco พบว่ากว่า 80% ของวีดีโอคอนเทนท์สามารถเพิ่มทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์ของเราได้

4. การค้นหาด้วยเสียง (Voice Search) - การค้นหาด้วยเสียงของ Google นั้นไม่ใช่มีเพียงค้นหาเบอร์โทรศัพท์แต่สามารถค้นหาด้วยการที่เพียงพูด Keyword ที่ต้องการค้นหาเข้าไปได้ ปัจจุบันมากกว่า 20% ของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือใช้การค้นหาด้วยเสียง ดังนั้นการค้นหาด้วยเสียงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับเว็บไซต์หรือการทำ SEO Voice Search

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ดัน SEO ไม่ขึ้น บทความดีแต่ยังไม่ติดอันดับค้นหา ทำยังไง

การที่เราเขียนบทความในเว็บไซต์เพื่อดันอันดับ SEO ให้มีการค้นหาติดอันดับของ Google โดยบทความที่เราเขียนไปคิดว่ามีคุณภาพมากเพียงพอที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ แต่เพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้อันดับยังไม่ติดการค้นหาของ Google วันนี้ www.seo-winner.com มีคำตอบให้ทุกคน

1. การจัดการเว็บไซต์ยังไม่ดีเพียงพอ เช่น ไม่ว่าจะเป็นลิงก์เสีย ไม่ใส่ข้อมูล Meta descriptions , Meta Keyword และ การเขียนโค้ดที่ไม่เป็นมิตรกับการโหลดเว็บไซต์ ไม่มีการแบ่งหมวดหมู่ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ต่างมีผลต่อการจัดอันดับทั้งสิ้น

2. เว็บไซต์ของคุณไม่รองรับมือถือ ในปัจจุบันนี้ ยอดขายสมาร์ตโฟนเติบโตขึ้นสูงมาก และมีผู้คนกว่าร้อยละ 60 ที่ใช้มือถือค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ สินค้าและบริการ จึงทำให้เป็นยุคที่เว็บไซต์ต้องปรับตัวรองรับสมาร์ตโฟนให้ได้ ถ้าหากพบว่าเว็บไซต์มีปัญหาเหล่านี้ จึงควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพื่อให้บทความ และคอนเทนต์ SEO ของเราติดค้นหาเป็นลำดับต้นๆ และช่วยให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือในสายตาของ Google มากขึ้น ซึ่งจะจัดว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ และทำให้การจัดอันดับคีย์เวิร์ดดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

อะไรคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับเว็บไซต์ สมัยใหม่

ทำเว็บไซต์ สมัยใหม่ ไม่ได้ใช้เทคนิคซับซ้อนซ่อนเงื่อนใดๆเลย แค่ใช้เทคนิคให้ถูกที่ถูกเวลา ผมว่าแค่นี้ก็ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นเว็บไซต์สมัยใหม่แล้วก็ว่าได้ เทคนิคที่ว่านี้คือ การเลือกดีไซน์ของเว็บไซต์ที่สะอาดตา โหลดเร็ว รองรับ SEO มีแบบฟอร์มติดต่อ มีแผนที่ที่เหมือน google map มีระบบสำรองข้อมูล มีการเซ็ตอัพเรื่องความปลอดภัย และที่สำคัญที่สุดคือ เว็บไซต์สมัยใหม่นั้นต้องรองรับการเปิดในทุกหน้าจอด้วย(Responsive)

1. เลือกดีไซต์ธีมเพลตที่ทันสมัย - ปัจจุบันความสวยงามของหน้าตาเว็บไซต์นั้น มีความสำคัญพอๆกันกับการทำเว็บให้มีคุณภาพ รับทำเว็บไซต์ มีการใช้สีบนเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ดีไซน์ที่ดูสะอาดตา ไม่รกเหมือนเว็บไซต์สมัยก่อน ใช้เอฟเฟกต์ประกอบบนเว็บไซต์ เช่นเวลาเอาเมาส์ไปชี้มันก็จะเปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนข้อความ เวลาเลื่อนลงมาอาจจะมีปุ่มให้กดขึ้นข้างบนอัตโนมัติ ในสมัยก่อนการจะทำเว็บไซต์ที่มีเอฟเฟกต์ลักษณะนี้อาจจะใช้พวกโปรแกรม flash แต่ปัจจุบันเราสามารถใช้โค้ดในการทำเอฟเฟกต์เหล่านั้นได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรมีคือ เว็บไซต์ต้องรองรับทุกอุปกรณ์ด้วย

2. เก็บสถิติต่างๆด้วย Google Analytics - ในทุกวงการบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีสถิติต่างๆที่เก็บไว้เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งในวงการทำเว็บไซต์ก็เหมือนกัน นอกจากดีไซน์ต้องได้แล้ว ยังต้องเก็บสถิติการเข้าใช้เว็บด้วย เช่น ส่วนใหญ่คนเข้ามาในเว็บจากที่ใหน ใช้เบราเซอร์อะไร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ จากประเทศไหน ภาษาอะไร เข้าหน้าใหนบ่อยสุด ซึ่งสถิติเหล่านี้เราสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงบริการของเราในอนาคตได้ ปัจจุบันเครื่องมือในการเก็บสถิติบนเว็บไซต์ไม่ต้องไปจ้างบริษัททำเว็บไซต์ให้วุ่นวาย แค่คุณติดตั้ง Google Analytics ก็สามารถใช้ได้แล้ว

3. รองรับ SEO (Search Engine Optimization) - สำหรับเว็บไซต์เพื่อธุรกิจ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ SEO ซึ่งเจ้า seo คือการปรับแต่งเว็บไซต์ให้รองรับการจัดอันดับบนกูเกิล ถ้าทำ SEO ที่ถูกวิธีมันจะช่วยให้คุณได้ลูกค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีทราฟฟิคเข้ามาเยอะขึ้น ซึ่งการทำสิ่งเหล่านี้มีเทคนิคมากมายหลายข้อด้วยกัน แต่ปัจจุบันมีปลั๊กอินที่ดีและมีคุณภาพ ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ง่ายขึ้น ซึ่งปลั๊กอินที่ผมใช้อยู่และคนทั่วโลกใช้กันคือ Yoast SEO เราสามารถใส่ Keywords ใส่คำอธิบาย(Meta Description) ใส่ Focus Keywords ใส่ title ของเพจและที่ทีดีกว่านั้นคือมันบอกได้ด้วยว่าบทความที่เรากำลังทำนั้นมีคุณภาพแค่ใหน

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

3 สิ่งที่ทำให้ MOBILE APPLICATION ไม่ประสบความสำเร็จ

Mobile Application เกิดการพัฒนาอยู่อย่างเสมอมากขึ้น และมากขึ้นเมื่อเทียบกับความต้องการในสมัยก่อน อีกทั้งอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าสมาร์ทโฟนกลายเป็นสิ่งจำเป็นและสิ่งสำคัญ สิ่งเหล่านี้จึงส่งผลให้เกิดการพัฒนา Mobile Application แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ประสบการณ์จะช่วยสอนได้ว่าสิ่งใดที่เรากำลังทำหรือพัฒนาอยู่นั้นมีข้อดีหรือข้อเสีย หรือสิ่งที่ต้องจดจำเอาไว้ว่ามีอะไรบ้าง และในการ รับทำเว็บไซต์ บางครั้งการลองผิดลองถูกด้วยตนเองอาจจะยังไม่เพียงพอ และอาจเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ที่มากเกินความจำเป็น หรือมากเกินกว่าที่เราได้คาดการณ์เอาไว้

หลายปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ไม่ได้มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อ User กับ Application เพราะถึงแม้ว่า Application เราจะดีเลิศเพียงใดแต่การใช้งานไม่รอบรับ หรือไม่ได้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานมากพอ สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่สิ่งที่ User ต้องการอีกต่อไป และสำหรับบทความนี้ได้รวบรวมนำกับ 3 ข้อผิดพลาดที่ได้เกิดขึ้นกับ Mobile Application และส่งผลให้ Mobile Application ไม่ประสบความสำเร็จ

ข้อที่ 1 - วัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน

บางครั้งนักพัฒนาอาจทำการพัฒนา Application จนลืมว่าความต้องการแท้จริง รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของ Application นั้นมีอะไรบ้าง ควรศึกษาและพัฒนาให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึง User ด้วย

ข้อที่ 2 - ทำให้ User หลงทาง

เพราะ User อาจเกิดคำถามหลังจากทำการโหลดและเปิด Application - แอปนี้มีความจำเป็นกับชีวิตอย่างไร - แอปนี้ใช้งานอย่างไร - แอปนี้มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง โดยจากผลสำรวจ ถ้า User นั้นไม่ได้คำตอบ ประมาณ 21% ก็จะไม่เปิด Application นี้ขึ้นมาอีกเลย

ข้อที่ 3 - ไม่มีใครอยากลองใช้ Application

เมื่อมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเสร็จสิ้น แต่ลืมโปรโมทให้เป็นที่รู้จัก ก็จะทำให้เราไม่ทราบได้เลยว่า แอปพลิเคชั่นสามารถทำงานและตอบโจทย์การใช้งานของ User ได้ 100% หรือไม่ เช่นกันกับการ รับทำเว็บไซต์ หากเราทำการโปรโมทให้เป็นที่รู้จักและ User นั้นเกิดประสบการณ์ที่ดีก็อาจส่งผลให้เกิดการบอกต่อและแนะนำเพื่อนให้มาใช้งานได้อีกด้วย

ปัญหาทั้งหมดข้างต้นเราสามารถนำไปแก้ไขและปรับปรุงให้การทำงานของเรานั้นมีความสมูธ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น รวมไปถึงทำให้ตรงใจกับ User มากที่สุด เพื่อให้การพัฒนา Mobile Application ของเรานั้นไม่สูญเปล่าและสามารถใช้งานได้จริง ขอบคุณบทความดีๆจาก wynnsoft-solution.com ที่แบ่งปันข้อมูลให้เพื่อนๆได้ทราบกัน

6 สิ่ง ที่ควรรู้ก่อนลงมือทำเว็บด้วย WordPress By Wynnsoft Solution

1. ไม่ต้องจำลอง Server ให้เช่าโฮสทำเว็บแต่แรกไปเลย

หากอยากทำเว็บให้เป็นเร็ว วินน์ ซอฟต์ รับทำเว็บไซต์ ให้เราเช่าโฮสติ้งไปเลยครับ ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ทำทุกอย่างให้มันออนไลน์ไปเลย เราจะได้สามารถเข้าไปทำเว็บจากคอมเครื่องไหนก็ได้ ไม่ต้องลงโปรแกรมจำลอง Server หรือต้องมานั่งสร้าง Database เองให้เสียเวลา

2. เลือกใช้โฮสติ้งที่เหมาะกับ WordPress

โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าโฮสติ้งแต่ละเจ้านั้นมีความแตกต่างๆ กัน มีทั้งโฮสที่ดี และโฮสที่ไม่ดี แม้โฮสทุกเจ้าจะสามารถทำเว็บได้หมด แต่ไม่ใช่โฮสทุกเจ้าที่เหมาะกับการ สร้างเว็บ WordPress ครับ ในฐานะที่ผมทำอาชีพสอนทำเว็บ และ รับทำเว็บไซต์ และ seo ในตอนแรกใครบอกว่าที่ไหนดีผมก็ลองไปเช่ามาใช้หมดครับ ทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อมองหาโฮสที่เหมาะกับมือใหม่ที่สุด

ปัญหาที่เจอของโฮสที่มีชื่อเสียงก็คือเขาจะมีลูกค้าเยอะ เขาจึงค่อนข้างจำกัดการใช้งานของลูกค้าในระดับ Share Host ซึ่งโดยทั่วไปมือใหม่ 90% ก็เริ่มต้นทำเว็บด้วยการใช้โฮส ในระดับ Share host ที่มีราคาถูก นั่นเองในช่วงเริ่มต้น

การถูกจำกัดการใช้งานเท่าที่เคยเจอมา เช่น ลง WordPress เองไม่ได้ อัพเดท WordPress ไม่ได้ จำกัดพวกหน่วยความจำในส่วนของ PHP ทำให้เราบางครั้งลงเดโมของธีมใหญ่ๆ ไม่ได้ หรือลงบางปลั๊กอิน ไม่ได้ ต้องคอยติดต่อ support ของโฮสให้ช่วยแก้ไข ให้ช่วยปลดล็อคนี่นั้นนู้นตลอด

3. หากต้องการ สร้างเว็บ WordPress ให้ใช้งานได้จริงควรซื้อธีมครับ

เพราะพวกธีมฟรีมีข้อจำกัดเยอะ ในระยะยาวต้องซื้อธีมกันทุกคนครับ คราวนี้ถ้าจะซื้อ ซื้อธีมไหนดี ถ้าเป็นมือใหม่ควรใช้ธีมที่เป็น bestseller ที่มีคนใช้เยอะๆ ติดขัดอะไรจะได้มีคนช่วยได้ครับ หรือไม่ก็ลองเอาชื่อธีมที่เราสนใจไปเสริจหาบนยูทูปดูก่อนว่ามีคลิปสอนเยอะมั้ย การเซ็ทอัพธีมจะได้ง่ายขึ้นครับ เพราะการทำเว็บมันไม่ง่ายอย่างที่เราคิดไว้แน่นอนครับ

แหล่งซื้อธีมคุณภาพระดับโลกคือที่นี่ครับ Themeforest ทุกธีมจะมี live preview ว่าธีมนี้ทำอะไรได้บ้าง แต่ถ้าเป็นธีมที่สร้างโดยคนไทยก็ต้องที่นี่เลยครับ Wynnsoft Solution

แต่เราต้องมองให้ออกว่า ธีม คือชิ้นส่วนที่เปรียบเหมือนกับตัวต่อเลโก้ เราซื้อมาหนึ่งธีม เราก็ได้ชิ้นส่วนมา 1 ถุง เราจะต่อเป็นเว็บอะไรก็ได้ โดยใช้ชิ้นส่วนที่ธีมมีให้ จะต่อเป็นเว็บบริษัทก็ได้ จะต่อเป็นเว็บร้านค้าก็ได้ ต่อเป็นเว็บบล็อคก็ได้ แล้วแต่ไอเดียของเราเลย ส่วนพวกเดโมที่เราเห็น ผู้สร้างธีมเขาแค่ต่อเว็บให้ดูเป็นตัวอย่าง จากชิ้นส่วนต่างๆ ที่ธีมนั้นมีให้เฉยๆ ครับ เรายังสามารถต่อเติมเสริมแต่งอะไรเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ครับ

4. ใช้ subdomain ในการฝึกทำเว็บ

หลายคนอาจจะสงสัยว่าหากเรามีแค่โดเมนเดียว เราจะทดลองฝึกทำเว็บ หลายๆ เว็บได้อย่างไร โดยที่เราไม่ต้องไปจำลอง Server บนคอมของเราด้วย คำแนะนำเลย แม้ว่าเราจะมีแค่โดเมนเดียว แต่เราสามารถสร้าง Subdomain ได้ไม่จำกัดครับ วิธีการสร้าง Subdomain เราก็ใช้ Subdomain นี่แหละลง WordPress ลงธีม ลงเดโมธีม ถ้าทำมันพัง ก็ลบแล้วสร้างใหม่ พอเว็บทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราค่อยย้ายมันไปไว้ที่ตัวโดเมนจริงได้เลยครับ ลองเข้าไปดูวิธีการย้ายเว็บได้ที่นี่ครับ วิธีการย้ายเว็บ WordPress ซึ่งมันง่ายมากๆ

5. ย่อไฟล์รูปให้เล็กที่สุด และห้ามตั้งชื่อรูปเป็นภาษาไทย

หากรูปภาพบนเว็บไซต์ของเราใหญ่เกินไป จะทำให้เว็บเราอืดครับ ยิ่งหากต้องดูบนมือถือ ยิ่งโหลดนาน ทำให้ ผู้เข้าชมเว็บของเราหงุดหงิดเอาง่ายๆ google ก็ไม่ชอบด้วย คำแนะนำเลย รูปภาพของเราจะมีขนาดกว้างxยาว เท่าไหร่ก็ได้ แต่ขนาดของไฟล์รูปเราต้องบีบมันให้เล็กที่สุด คือ อย่าให้เกิน 200kb ทำให้ต่ำกว่า 100 kb ได้ก็ยิ่งดีครับ ก่อนที่เราจะอัพโหลดรูปขึ้นเว็บ เราอาจไปย่อไฟล์รูปขั้นสุดท้ายที่เว็บนี้ได้ครับ tinypng.com

6. ใช้ฟังชั่นของธีมให้เต็มประสิทธิภาพ แก้ไขโค้ดให้น้อยที่สุด

คือหากเราใช้ธีมที่ดี เขาจะมีฟังชั่นที่จำเป็นเตรียมมาไว้ให้เราพร้อมใช้งานเลย เราแทบจะไม่ต้องเขียนโค้ดเพื่อแก้ไขเว็บอะไรเลย หรือถ้าจะต้องมีการเขียนโค้ด ต้องเขียนโค้ดแก้ไขเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และต้องระมัดระวังในตอนอัพเดท WordPress อัพเดทธีม อัพเดทปลั๊กอินต่างๆ บางครั้งพวกโค้ดต่างๆ ของเราจะหายหมดครับ ดังนั้นทางที่ดี หากจะมีการอัพเดทอะไรอะไร เราควร Backup เว็บไว้ก่อนเสมอ

ทั้งหมดที่ผมได้แนะนำนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการ สร้างเว็บ WordPress รับทำเว็บไซต์ ซึ่งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เยอะกว่านี้มาก แต่พื้นฐานที่ดีจะช่วยให้ผู้เริ่มต้น ประหยัดเวลาในการเรียนรู้ เพื่อลองผิดลองถูกครับ